fbpx

มาทำความรู้จักกับ NTSC และ PAL กันเถอะ?

มาทำความรู้จักกับ NTSC และ PAL กันเถอะ?

โดยปกติทั่วไปแล้วเชื่อว่าใครหลายๆ คนต้องเคยซื้อแผ่น CD หรือ DVD ที่มีหนังเป็นส่วนประกอบภายในเพื่อเอามาดูเพื่อความบันเทิง แต่จะมีใครรู้หรือไม่ว่า ไฟล์วีดีโอเหล่านั้น เป็นสัญญาณวีดีโอ ชนิดใดกัน และความจ่างกันคืออะไร ทำไมต้องแยกด้วย เพราะสุดท้ายปลายทางก็คือภาพที่ออกมาให้เราได้รับชมเหมือนกันอยู่ดี

เรามาทำความเข้าใจกันในเบื้องต้นกันก่อนกับภาพที่ได้จากเครื่อง DVR ย่อมาจากคำว่า Digital Video Recorder มีการบันทึกภาพแบบ Analog และทำการแปลงให้เป็น Digital เพื่อนำไปสู้การบันทึกภาพข้อมูลลงไปใน Hard disk เหตุผลเพราะว่า มีการติดตั้งง่าย ไม่ต้องตั้งค่าอะไรพิเศษให้วุ่นวาย และประเด็นสำคัญหลักคือ ราคาถูกและประหยัด โดยสัญญาณภาพแบบ Analog จะนับความคมชัดที่เส้นของทีวี รูปแบบการบันทึกของภาพวีดีโอ มีสองแบบที่ใช้ในเครื่องบันทึก คือ

– NTSC ย่อมาจาก The National Television System Committee เริ่มใช้ปี พ.ศ. 2483 เป็นระบบสัญญาณภาพแบบแรกที่กำเนิดขึ้นบนโลกเลยก็ว่าได้ โดย NTSC จะมีจำนวนเส้น ( TV line ที่ 525 TV line ที่แนวนอน และ 480 เส้นที่แนวตั้ง) และมีจำนวนภาพต่อวินาทีที่ 30 ภาพ Frame per Second และที่สำคัญ ระบบนี้จะใช้ในไฟบ้านที่ กระแสไฟ 110V/60Hz ให้รายละเอียดภาพรวม ( 720 x 480 ) เท่ากับ 345, 600 จุด มีอัตราส่วนของการแสดงภาพ 1.5:1 ( 3:2 ) สรุปค่าได้ 0.34 MegaPixel

– PAL ย่อมาจาก Phase Alternating Line พัฒนาขึ้นโดยวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ Walter Bruch ในปี 1963 แต่เริ่มเอามาใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนสิงหาคมปี 1967 โดย Pal จะมีจำนวนเส้น ( TV line ที่ 625 เส้น ที่แนวนอน และ 576 เส้นที่แนวตั้ง และมีจำนวนภาพต่อวินาทีที่ 25 ( 25 frame per second ) มีการแยกแบนด์วิชระหว่างภาพและเสียง และใช้กับไฟที่จำนวน 220V/50Hz ให้รายละเอียดภาพรวม ( 720 x 576 ) เท่ากับ 414, 720 จุด ( หรือ 768 x 576 = 442, 368 จุด ) มีอัตราส่วนของการแสดงภาพใกล้เคียงมาตรฐาน 4:3 สรุปค่าได้ 0.41 MegaPixel หรือ 0.44 MegaPixel

ภาพบ่งบอกถึงโซนและ ประเทศ ต่างๆที่ใช้งานไฟล์แตกต่างกัน

มาถึงตรงนี้สรุปว่าเรารู้จัก NTSC กับ PAL กันบ้างแล้ว ถ้าใครไม่ได้ไปติดตั้งกล้องวงจรปิดในแถบประเทศพวก เมกา ญี่ปุ่น แคนาดา ที่ใช้ไฟ 110/60Hz ก็ให้เลือกเป็น PAL ซึ่งเป็นสัญญาณภาพที่ใช้กับไฟในประเทศไทยนั้นเองนะครับ

ข้อสังเกต ถ้าหากว่าระบบโทรทัศน์ กับ เครื่องเล่นที่ต่อเข้ากันจะต้องเป็นระบบภาพเดียวกัน ถ้าเป็น PAL ก็ต้อง PAL กันทั้งคู่ หรือถ้าเป็น NTSC ก็ต้อง NTSC แต่ถ้าเกิดว่าใครต่อเข้าไปแล้วเกิดภาพขาว-ดำ ก็ให้ปรับทีวี จะมีพวกโหมดภาพให้เลือกอย่าง PAL PAL60 NTSC SECAM เป็นต้น

ระบบ SECAM ย่อมาจาก System Electronique Pour Couleur Avec Memoire หรือ Sequential Color and Memory พัฒนาขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1967 มาตรฐานนี้มีจำนวนเส้นแนวนอน 625 เส้น และแนวตั้ง 576 เส้น มีการส่งสัญญาณหลายแบบ แต่ละแบบจะส่งสัญญาณภาพและเสียงแยกแบนด์วิธกัน เช่น แบบ B, D ส่ง VHF แบบ G, H, K ส่ง UHF แบบ I, N, M, K1, L ส่งทั้ง VHF/UHF และแต่ละแบบจะใช้เครื่องรับสัญญาณต่างกัน และยังใช้เส้นทีวีไลน์มากถึง 800 – 1000 เส้น โดยระบบนี้ใช้ไฟ 60Hz แต่ว่า ความถี่นั้น ใช้แถบความกว้างมาก จนมีช่องไม่กี่ช่องที่สามารถใช้ได้ ทำให้ไม่เป็นที่นิยม และไม่มีรูปแบบ SECAM ในตัวเลือกของเครื่องบันทึกแบบ StandAlone ในปัจจุบันมากนัก