fbpx

Fiber Optic สายสัญญาณสำหรับงานกล้องวงจรปิดระยะไกล

Fiber Optic สายสัญญาณสำหรับงานกล้องวงจรปิดระยะไกล

ปัจจุบันนี้สายสัญญาณมีความจำเป็นมากขึ้น ในงานของระบบกล้องวงจรปิดนั้น ก็ต้องใช้สายสัญญาณเช่นเดียวกัน เป็นวิธีรับส่งข้อมูลที่ได้ความเสถียรที่สุด แน่นอนที่สุด ความจำเป็นในลักษณะนี้จึงมีการคำถามว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่สายสัญญาณแบบเส้นใยแก้วนำแสง ที่จะนำมาใช้กับระบบกล้องวงจรปิด เมื่อดูความเป็นไปได้แล้ว ในปัจจุบันนี้ราคาของสาย Fiber optic เส้นใยแก้วนำแสงที่เดินในอาคาร มีราคาใกล้เคียงกับสาย UTP แบบเกรดที่ดี เช่น CAT 5 ขณะเดี่ยวกันสายเส้นใยแก้วนำแสงให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่ามาก และรองรับการใช้งานในอนาคตได้มากกว่า สายยูทีพีแบบ CAT 5 รองรับความเร็วสัญญาณได้ 100 เมกะบิตต่อวินาที และมีข้อจำกัดในเรื่องความยาวเพียง 100 เมตร ขณะที่เส้นใยแก้วนำแสงรองรับความถี่สัญญาณได้หลายร้อยเมกะเฮิรตซ์ และยังใช้ได้กับความยาวถึง 2000 เมตร การพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ ของเส้นใยแก้วนำแสงได้ก้าวมาถึงจุดที่จะนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในอนาคต

จุดเด่นของเส้นใยแก้วนำแสง มีหลายประการ โดยเฉพาะจุดที่ได้เปรียบสายตัวนำทองแดง ที่จะนำมาใช้กับระบบกล้องวงจรปิดนั้น นี้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งประกอบด้วย

1. ความสามารถในการรับส่งข้อมูล

เส้นใยแก้วนำแสงที่เป็นแท่งแก้วขนเหล็ก มีการโค้งงอได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้กันมากคือ 62.5/125 ไมโครเมตร เส้นใยแก้วนำแสงขนาดนี้เป็นสายที่นำมาใช้ภายในอาคารทั่วไป เมื่อใช้กับคลื่นแสงความยาวคลื่น 850 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้มากกว่า 160 เมกะเฮิรตซ์ ที่ความยาว 1 กิโลเมตร แล้วถ้าใช้ความยาวคลื่น 1300 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้กว่า 500 นาโนเมตร ที่ความยาว 1 กิโลเมตร และถ้าลดความยาวเหลือ 100 เมตร จะใช้กับความถี่สัญญาณมากกว่า 1 กิกะเฮิรตซ์ ดังนั้นจึงดีกว่าสาย UTP แบบ CAT 5 ที่ใช้กับสัญญาณได้ 100 เมกะเฮิรตซ์

2. น้ำหนักเบา

เส้นใยแก้วนำแสงมีน้ำหนักเบากว่าเส้นลวดตัวนำทองแดง น้ำหนักของเส้นใยแก้วนำแสงขนาด 2 แกน ที่ใช้ทั่วไปมีน้ำหนักเพียงประมาณ 20 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของสาย UTP แบบ CAT 5

3. เส้นใยแก้วนำแสงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าลวดทองแดงมาก

ขนาดของเส้นใยแก้วนำแสง เมื่อรวมวัสดุหุ้มแล้วมีขนาดเล็กกว่าสาย UTP โดยขนาดของสายใยแก้วนี้ใช้พื้นที่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ของเส้นลวด UTP แบบ CAT 5

4. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถรบกวนได้

ปัญหาที่สำคัญของสายสัญญาแบบทองแดง คือการเหนี่ยวนำโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัญหานี้มีมากทำให้ผู้ใช้ต้องหมั่นดูแล แต่สำหรับเส้นใยแก้วนำแสงแล้วปัญหาเรื่องเหล่านี้จะไม่มี เพราะแสงเป็นพลังงานที่มีพลังงานเฉพาะและไม่ถูกรบกวนของแสงจากภายนอก ภาพที่ได้จากกล้องวงจรปิดจึงมี Noise ต่ำมาก

5. ไม่แตกหักง่าย

ด้วยความคิดที่ว่า “แก้วแตกหังได้ง่าย” ความคิดนี้จึงเกิดขึ้นกับเส้นใยแก้วด้วย เพราะวัสดุที่ทำเป็นแก้ว ความเป็นจริงแล้วเส้นใยแก้วมีความแข็งแรงและทนทานสูงมาก การออกแบบใยแก้วมีเส้นใยห้อมล้อมไว้ ทำให้ทนแรงกระแทก นอกจากนี้แรงดึงในเส้นใยแก้วยังมีความทนทานสูงกว่าสาย UTP หากเปรียบเทียบเส้นใยแก้วกับสาย UTP แล้วจะพบว่า ข้อกำหนดของสาย UTP คุณสมบัติหลายอย่างต่ำกว่าเส้นใยแก้ว เช่น การดึงสาย การหักเลี้ยวเพราะลักษณะคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ความถี่สูงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า

6. กำลังสูญเสียต่ำ

เส้นใยแก้วนำแสงมีคุณสมบัติในเชิงการให้แสงวิ่งผ่านได้ การบั่นทอนแสงมีค่าค่อนข้างต่ำ ตามมาตรฐานของเส้นใยแก้วนำแสง การใช้เส้นสัญญาณนำแสงนี้ใช้ได้ยาวถึง 2000 เมตร หากระยะทางเกินกว่า 2000 เมตร ต้องใช้รีพีตเตอร์ทุก ๆ 2000 เมตร การสูญเสียในเรื่องสัญญาณจึงต่ำกว่าสายตัวนำทองแดงมาก ในขณะที่สายตัวนำทองแดงมีข้อกำหนดระยะทางเพียง 100 เมตร ดังนั้นใยแก้วนำแสงเหมาะมาก สำหรับการนำมาใช้ในระบบกล้องวงจรปิดที่ต้องเดินสายไกลๆ หลายโครงการหมดกังวลในเรื่องระยะทางไปเลยครับ

7. มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

การที่เส้นใยแก้วเป็นฉนวนทั้งหมด จึงไม่นำกระแสไฟฟ้า การลัดวงจร การเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าจึงไม่เกิดขึ้น

8. มีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูลสูง

มากกว่าการใช้เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะใช้แสงเดินทางในเครือข่ายจึงยากที่จะทำการแท๊ปหรือทำการตัดฟังข้อมูล

เส้นใยแก้วนำแสงมีราคาที่ถูกลง

แนวโน้มทางด้านราคามีการเปลี่ยนแปลงราคาของเส้นใยแก้วนำแสงลดลง จนในขณะนี้ยังแพงกว่าสาย UTP อยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนักนอกจากนี้หลายคนยังเข้าใจว่า การติดตั้งเส้นใยแก้วนำแสงมีข้อยุ่งยาก และต้องใช้คนที่มีความรู้ความชำนาญ เสียค่าติตั้งแพง ความคิดนี้ก็คงไม่จริง เพราะการติดตั้งทำได้ไม่ยากนักเนื่องจากมีเครื่องมือพิเศษช่วยได้มาก เครื่องมือพิเศษนี้สามารถเข้าหัวสายได้โดยง่ายกว่าแต่เดิมมาก อีกทั้งราคาเครื่องมือก็ถูกลงจนมีผู้รับติดตั้งได้ทั่วไป

Photo credit: Fiber Optic Ends by Barta IV

ในการเดินสายระยะทางไกลๆนั้นควรใช้สาย ไฟเบอร์ออปติกในการเดินสายสัญญาณโดย สายไฟเบอร์ออปติกมักใช้คู่กับกล้องวงจรปิด แบบ IP camera ในการใช้งานต้องมึอุปกรณ์ fiber optic switch ด้วย จะมีการใช้งาน ต่อเข้ากับอุปกรณ์รวม และแต่ละ Fiber port จะมีการเดินสายเข้าสู่ Fiber Optic SW และใช้สาย UTP Outdoor สำหรับต่อเข้ากล้องวงจรปิด อีกครั้ง ถ้าเลือกใช้ SW ที่เป็น POE และกล้อง IP Camera รองรับระบบ POE ก็เดินแค่ สาย UPT เพียงเส้นเดียวไม่ต้องเดินสายไฟอีก

ระบบนี้เหมาะกับใคร

ระบบนี้จะเหมาะกับ ชุมชน หมู่บ้าน หรือตำบล ที่ต้องการรวมการบันทึกภาพเข้ามาที่ ระบบ เซ็นเตอร์จุดเดียวกัน โดยแต่ละจุดไกลเกิน 1 km แต่ระบบนี้ ราคาจะโหลดอยู่ที่ ปริมาณสาย ค่อนข้างจะมหาศาลกันเลยทีเดียว

วิเคราะห์จุดแข็งของระบบนี้

ระบบนี้ เป็นระบบเดินสายดังนั้นการทำงานจะค่อนข้างเสถียรในระยะทางที่ไกลมากขนาดนี้ และคู่แข่งของไฟเบอร์ออปติกในระยะขนาดนี้ ก็แทบไม่มีเลย

ข้อด้อยของระบบ

การเดินสายไฟเบอร์ออปติกจะมีความยุ่งยากเสมอ และข้อด้อยที่เห็นได้ชัดคือการต้องเอาอุปกรณ์ Fiber optic SW ไปไว้ตามจุดต่างๆ ใกล้กล้องซึ่งอาจส่งผลให้อุปกรณ์เสียหายได้ง่าย ดังนั้นอุปกรณ์ต้องมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมอย่างมาก ควรใช้ สินค้าเกรด อุตสาหกรรม และระบบนี้รองรับกับกล้อง IP เท่านั้น

ระบบทดแทนที่ประหยัดกว่า

การออกแบบระบบที่ประหยัดกว่านี้คือการใช้เครื่องบันทึก ใกล้ๆกล้อง โดยต้องจัดหาสถานที่เก็บเครื่องบันทึกที่ไม่ไกลเกิน 1 km จากกล้องให้ได้ แต่ถ้าต้องการให้ระบบออนไลน์จะต้องมีการเชื่อมระบบด้วยวิธีต่าง เช่นเชื่อมด้วย Router 3G หรือระบบ wifi 30km หรือการลากสาย fiber optic ทำ backbone แต่ถ้าทำแบบนี้ก็ไม่ต่างกับแบบเดิมเท่าไหร่

การใช้งานจริงที่มีการใช้งานแล้ว

ตัวอย่างที่มีการใช้งานจริงแล้วคือ ระบบกล้องวงจรปิดตามสี่แยก โดยทาง กทม. จะมีการติดกล้องวงจรปิดแบบ อนาล็อค ไว้ตาม แยกต่างๆ โดย นำภาพเข้าเครื่องบันทึกที่ บริเวณป้อมใกล้เคียงประจำ แยกนั้นๆ และมีการเชื่อมเครื่องบันทึก ด้วยระบบ fiber optic อีกทีให้ส่งสัญญาณไปบันทึกที่ สำนักงานเขตใกล้เคียง เพราะเครื่องบันทึกตามแยก ส่วนมากแล้วนำมาใช้เพื่อให้เป็นตัวรวมภาพและส่งต่อเป็นหลัก บางเครื่องจะไม่มีการบันทึกเลย บางเครื่องก็มีการบันทึกที่ความละเอียดต่ำๆ ไว้แค่พอดูเบื้องต้นเฉพาะหน้าเท่านั้น อุปกรณ์ของเราพร้อมรองรับความต้องการของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับระบบกล้องวงจรปิดได้ที่ 02-255-9590 , 088-259-1398 ,088-289-2189 หรือ อีเมล์ [email protected]