fbpx

ความแตกต่างระหว่าง H264,H264+ และH.265

ในบทความที่แล้วเราได้รู้จัก H.264,H.264+ และH.265 กันแล้ว

สำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่านสามารถเข้าไปดูบทความมารู้จักกับ H.264 ที่เราเห็นในเครื่องบันทึกสำหรับกล้องวงจรปิดมันคืออะไร

สำหรับบทความนี้ ได้มีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมาคือ H.264+ ซึ้งแน่นอนว่า เจ้า H264+ นี้ ต้องดีกว่า H264 แบบเดิมแน่นอน

H264 + นั้น มีการปรับปรุงการเข้ารหัสที่ดีขึ้น ทำให้การถ่ายโอนข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น 20 – 50 % จาก H264

ซึ่งจะช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บลดไปได้มาก ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้น พื้นที่จัดเก็บจะมีปริมาณน้อยลงด้วยคุณภาพของภาพที่เท่าเดิม

ตารางเปรียบเทียบการจัดเก็บข้อมูล

 

Storage
H.264 Plus: H.264: Saved Storage:
Still Scene: 16158 Kbps 40822 Kbps 60.42%
Moving Scene: 37351 Kbps 47338 Kbps 21.10%

จากตารางจะเห็นว่า การจัดเก็บข้อมูลในซีนที่อยู่นิ่ง จะเห็นว่า H.264+ มีอัตราการจัดเก็บน้อยกว่า H.264 ถึง 60 %

และซีนที่มีการเคลื่อนไหว  H.264 + มีอัตราการจัดเก็บน้อยกว่า H.264 ถึง 21 %

 

ตารางเปรียบเทียบการใช้งานเครือข่าย

Network Traffic
H.264 Plus: H.264: Saved Bandwidth:
Still Scene: 180 Kbps 300 Kbps 40.00%
Moving Scene: 790 Kbps 950 Kbps 16.84%

 

จากตารางจะเห็นว่า การใช้งาน Network ในซีนที่อยู่นิ่ง จะเห็นว่า H.264+ มีอัตราการใช้งานน้อยกว่า H.264 ถึง 40 %

 

และซีนที่มีการเคลื่อนไหว  H.264+ มีอัตราการใช้งานน้อยกว่า H.264 ถึง 16 %

 

สำหรับเครื่องบันทึกภาพ KARE K-Series 4 , 8  และ 16 ช่อง รองรับเทคโนโลยี H.264+ แล้วนะครับ

 

เรามารู้จักกับ H.265 ต่อเลยครับ

H.265 เป็นการบีบอัดวีดีโอรูปแบบใหม่ ที่ต่อเนื่องมาจาก H.264 ถูกพัฒนาขึ้นโดย ITU-T Video Coding Experts Group (VCEG)
22 ตุลาคม 2012 Ericsson ประกาศตัวว่าเป็นคนแรกของโลกที่เปิดตัวการเข้ารหัสแบบ H.265 ภายใต้ชื่อ High Efficiency Video Coding (HEVC) โดยหน่วยงาน ITU-T เป็นคนรับรองมาตรฐาน

H.265 กล่าวว่า สามารถบีบอัดข้อมูลได้เป็นสองเท่าของ H.264 ด้วยระดับคุณภาพของภาพเท่ากัน สามารถรองรับคุณภาพของภาพหลากหลายที่ Bit Rate เท่าๆกัน และสามารถรองรับ 8K UHD ความละเอียด 8192 x 4320

H.265 ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการบีบอัดมากกว่า H.264 โดย Bitrate ลงไปครึ่งหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการทำงานของ applicationด้วย H.265 จะลดความซับซ้อนการคำนวณการเข้ารหัสลง ทำให้บีบอัดได้ดีขึ้น ขณะที่ H.264 ส่งข้อมูลระดับ SD ที่ 1Mbps แต่ H.265 สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 720P หรือ (1280 x 720) และ HD ที่ 1-2Mbps

บริษัทใหญ่ฝั่ง IT เช่น Qualcomm Broadcom และ Huawei ได้ออก Products ที่เป็น H.265 ซึ่งหวังว่าจะมาแทนที่ H.264 และจะเป็นมาตรฐานระดับสากลต่อไป

H.265 ทำไมถึงเหนือกว่า H.264?

การเข้ารหัสของ H.265/HEVC จะมีลักษณะคล้ายๆ กันกับ H.264/AVC ที่มี inter-/ intra-picture prediction, transform coding, quantization, deblocking filter, and entropy coding แต่ H.265/HEVC จะประกอบด้วย หน่วย โค๊ดดิ่ง coding units (CUs), หน่วยการคาดการณ์ predict units (PUs) และหน่วยการเปลี่ยนถ่าย transform units (TUs).

เปรียบเทียบระหว่าง H.264 กับ H.265 มีกระบวนการที่แตกต่างกันในการแบบอัด ที่จำนวน Block H.264 จะใช้อยู่ที่ 16×16 pixel ขณะที่ H.265 จะสามารถเลือกจาก 8×8, 16×16 ถึง 64×64 pixels. ส่วนที่วิเคราะห์ว่าอะไรที่จะแบ่ง CUs ออกเป็นหลายขนาดนั้นตัวอย่างเช่น ตัวของรถในที่จอดรถ การเข้ารหัสจะใช้ Block ที่ใหญ่ในการเข้ารหัสพื้นหลัง (Background) ที่จะบรรจุข้อมูลจำนวนน้อย

H.265 จะใช้โหมดการกำหนดทาง 33 directional modes สำหรับการคาดคะเน (intra-prediction), เปรียบเทียบกับ H.264 จะใช้โหมดการกำหนดทิศทางเพียง 8 directional modes สำหรับการคาดคะเน intra-prediction ที่คุณภาพภาพเหมือนกัน H.265 จะบีบอัดได้ถึง 39 to 44% เทียบกับH.264. ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกัน

มาตรฐานการบีบอัดวิดีโอต่าง ๆ ย่อมมีเป้าหมายเพื่อให้มีอัตราการบีบอัดข้อมูลสูงๆ นั่นคือใช้อัตราบิตน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ขณะเดียวกันก็ยังสามารถรักษาคุณภาพระดับเดิมไว้ได้ โดยวิธีการวัดประสิทธิภาพการเข้ารหัสของแต่ละมาตรฐานนั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกคือใช้ตัวชี้วัด เช่น peak signal-to-noise ratio (PSNR) วิธีที่สองคือประเมินจากคุณภาพของวิดีโอซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่าเนื่องจากเป็นสิ่งผู้ชมวิดีโอสัมผัสได้จริง

 

ที่มา : https://www.interconnect.co.th/knowledge.php?id=16