fbpx

ประกาศใหม่จาก มอก. ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุด มอก. 2432-2555

สวัสดีครับบทความนี้ นายแคร์ นำเสนอข่าวอัพเดทจาก สํานักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เรื่องมาตรฐานของปลั๊กรางพ่วงสำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของเรา เรามาเข้าสู่ประเด็นกันเลยว่า มอก.ปลั๊กพ่วงฉบับที่ล่าสุด ที่จะบังคับใช้ในวันที่ 24 กุภาพนธ์ 2561 นั้นจะเป็นอย่างไร นายแคร์ขอย่อเนื้อหาเพื่อให้เข้าใจกระชับเข้าใจง่ายที่สุดครับ

สำหรับ มอก. (มาตรฐานอุตสาหกรรม) ฉบับนี้เลยครับที่ผู้บริโภคสังเกตเห็นได้และควรต้องรู้ไว้เป็นความรู้เพื่อความปลอดภัยที่สูงกว่าครับ

ความเดิม!! สำหรับก่อนหน้านี้ที่เราใช้ ๆ กันมา คือ “ปลั๊กพ่วงยังไม่มี มอก.บังคับใช้ครับ” ที่เราเห็นอุปกรณ์มีสัญลักษณ์ มอก. ส่วนใหญ่นั้น ก็อ้างอิง มอก. จากสายไฟบ้าง มอก. จากเต้าเสียบบ้าง มอก. จากสวิตช์บ้าง แต่ในลักษณะของ มอก. ที่ใช้ควบคุมตัวปลั๊กทั้งรางนั้นยังไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย

ความหมาย มอก. เป็นคำย่อมาจาก “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยจัดทำออกมาเป็นเอกสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม ภายในมอก.แต่ละเล่มประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น

ปัจจุบันสินค้าที่ สมอ. กำหนดเป็นมาตรฐานปัจจุบันมีอยู่กว่า 2,000 เรื่อง ครอบคลุมสินค้าที่เราใช้ อยู่ในชีวิตประจำวันหลายๆ ประเภท ได้แก่ ประเภทอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น แน่นอนว่ารวมถึงกล้องวงจรปิดของเราด้วยครับ

1. มอก. ฉบับนี้บังคับใช้กับปลั๊กพ่วงแบบหยิบยกได้ รวมถึงชุดสายพ่วง

2. ขอบข่ายการใช้คือ มากกว่า 50V แต่ไม่ถึง 440V และขอบข่ายของแอมแปร์ห้ามมากกว่า 16A สำหรับการใช้งานภายในและภายนอกอาคาร

3. มาตรฐานการใช้งานปลั๊กพ่วงคือ อุณหภูมิภายนอกห้ามเกิน 40 องศาองศาเซลเซียส และถ้าใช้งาน 24 ชั่วโมง อุณหภูมิเฉลี่ยโดยรวมห้ามเกิน 35 องศาเซลเซียส

4. กำหนดให้หัวปลั๊กต้องใช้เป็นแบบ 3 ขา มอก.166-2549 เท่านั้น

5. ตัวบอดี้ จะต้องเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ หรือใส่สารกันลุกติดลามไฟ

6. ตัวเต้ารับจะต้องสอดคล้องกับ มอก. 166-2549 และมีม่านชัทเตอร์ปิดทุกเต้า (แบบในรูป)

7. ปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับตั้งแต่ 3 เต้าขึ้นไป จะต้องมีตัวตัดไฟ อาจจะเป็นแบบ RCBO หรือระบบ Thermal โดยห้ามใช้ระบบฟิวส์

8. สายไฟ สามารถใช้มาตรฐานมอก. 11-2553 หรือ มาตรฐานอื่นที่สอดคล้องกับ มอก.955 ได้

9. เต้ารับทุกเต้าจะต้องมีส่วนที่สัมผัสลงดินจริง ห้าม! ทำกราวด์หลอกอีกต่อไป

10. พื้นที่หน้าตัดสายไฟ และความยาว การรองรับไฟ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตารางด้านล่าง

11. การเชื่อมต่อ L – N และ G ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศไทย

12. ถ้ามีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวิตช์ ตัวกรองความถี่ อุปกรณ์กันแรงดันเกิน ควรได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้วย

จริง ๆ ระเบียบของ สมอ. สำหรับ มอก. ปลั๊กพ่วงจะมีข้อมูลมากกว่านี้ โดยเฉพาะขั้นตอนการทดสอบ แต่ในฐานะผู้บริโภคนั้น รู้เพียงเท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอแล้วครับผม

หลัก ๆ ก็คือ “ปลั๊กที่ใช้ฟิวส์ที่ใช้ขา 2 ขา แบบที่เราคุ้นตา” ภายในปีหน้าเขาห้ามผลิตเพิ่มแล้วนะครับ ยังสามารถขายต่อได้จนกว่าสินค้าจะหมดไป แต่ต้องรายงานสินค้าคงเหลือต่อ สมอ. ห้ามผลิตเพิ่มครับ!!

นายแคร์ยังยืนยันว่ากล้องวงจรปิดของเรา ยังสามารถใช้งานกับรางปลั๊กแบบเดิมได้ครับผม จะเห็นว่าปลั๊กไฟจาก Adapter ของเรา จะเป็นแบบ 3 ขา ให้กับลูกค้าอยู่แล้ว ข้อมูลนี้เพื่อเป็นการอัพเดทข่าวสารสำหรับอุปกรณ์รางปลั๊กไฟในบ้านเราครับ เป็นการยกระดับมาตรฐานเพิ่มเติมครับ

ประโยชน์ต่อผู้บริโภค

1. ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า และ สร้างความปลอดภัยในการนำไปใช้
2. ในกรณีที่ชำรุด ก็สามารถหาอะไหล่ได้ง่าย เพราะสินค้ามีมาตรฐานเดียวกัน ใช้ทดแทนกันได้
3. วิธีการบำรุงรักษาใกล้เคียงกัน ไม่ต้องหัดใช้สินค้าใหม่ทุกครั้งที่ซื้อ
4. ได้สินค้าคุณภาพดีขึ้นในราคาที่เป็นธรรมคุ้มค่ากับการใช้งาน

– เครดิต จาก TOSHINO , มอก. (Thai Industrial Satandard)

– ข้อมูล มอก.ปลั๊กพ่วงฉบับเต็มจาก สมอ.